วันศุกร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ศิลปะการป้องกันตัวซีละ หรือ ซีลัต





ซีละ คือ ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวที่มีลักษณะ การเตะ ถีบ ต่อย ลักษณะการร่ายรำ คือ จะมีผู้เล่นคนหนึ่งลุกขึ้นยืนตรง แล้วร่ายรำอย่างแข็งแรง ว่องไว มีการยกมือและยกเท้าเนิบ ๆ ช้า ๆ ปลายนิ้วของผู้เล่นจะสั่นระริก แล้วก็รำอย่างรวดเร็วสลับกันไป การเริ่มต้นอย่างนี้เรียกว่าไหว้ครู เมื่อจบแล้วอีกฝ่ายก็ลุกขึ้นรำบ้าง อาจจะคล้ายคลึงกัน หรือต่างกันบ้างก็อยู่ที่การฝึก การไหว้ครูจะมีดนตรีประกอบในจังหวะที่ช้า เครื่องดนตรี คือ ปี่ชวา กลองโทน 2 ตัว และฆ้อง เมื่อจบการไหว้ครูแล้ว ดนตรีจะเปลี่ยนจังหวะที่เร็วขึ้น และคู่ต่อสู้ทั้งสองฝ่ายก็จะลุกขึ้นยืนห่างกัน ประมาณ 5 เมตร ต่างฝ่ายต่างร่ายรำสวนทางกัน ประมาณ 1 รอบ พอสวนกันอีกครั้งก็หันเข้าหากันและต่อสู้กัน มีการเตะต่อย ปล้ำกัน การต่อสู้จะดำเนินไป จนกว่าจะฝ่ายใดฝ่านหนึ่งจะพลั้งพลาดท่า กล่าวคือ การล้มหลังถึงพื้นถือว่าแพ้ ผู้ที่ไม่ล้มเลยจะเป็นผู้ชนะ สำหรับคู่หนึ่งจะแข่งขันต่อสู้กันประมาณ 5 นาที ซีละในยุคปัจจุบัน กลายเป็นการละเล่นประจำท้องถิ่น เมื่อมีงานในหมู่บ้านก็ดี การรับแขกบ้านแขกเมืองก็ดี งานแต่งงานหรืองานเข้าสุนัตก็ดี จะมีการเล่นซีละ สำหรับซีละที่ประกอบกริซนั้น ค่อนข้างจะหาดูได้ยาก เพราะเป็นเกมส์ที่อันตราย เสี่ยงชีวิต นอกจากว่าเป็นการแสดงที่ได้ตระเตรียมกันมานาน ซักซ้อมกันมาเป็นอย่างดีจึงจะแสดงให้ชมได้

ศิลปะการป้องกันตัวของชนชาวมลายูคือ Silat โดยศิลปะการป้องกันตัวชนิดนี้มีมาเป็นเวลานานแล้ว แม้แต่ที่ Borobodor ที่อินโดนีเซีย ก็ยังมีการแกะสลักศิลปะการป้องกันตัวของชนชาวมลายูไว้ นั้นแสดงว่า Silat ได้กำเนินขึ้นมาเป็นเวลานับร้อยพันปีมาแล้ว ลักษณะของศิลปะการป้องกันตัวที่เรียกว่า Silat นั้นมีอยู่ 3 ลักษณะ คือ

1. Silat คือการเคลื่อนไหวของร่างกายในการป้องกันตัวจากการโจมตีของศัตรูหรือคู่ต่อสู้

2. Silap คือช่วงจังหวะลีลาที่จะใช้ในศิลปะการป้องกันตัว

3. Silau คือการตอบโต้ที่ใช้จากการป้องกันตัวที่ศัตรูหรือคู่ต่อสู้โจมตีตัวเรา

ดังนั้น ศิลปะการป้องกันตัว Silat สามารถที่จะกล่าวได้ว่าเป็นการเคลื่อนไหว, ช่วงจังหวะและลีลา, การตอบโต้ที่ถูกมนุษย์สร้างขึ้นโดยเป็นระบบ เป็นระเบียบและละเอียดอ่อนในการป้องกันตัวจากการโจมตีของศัตรูและคู่ต่อสู้
ในการเรียนเกี่ยวกับศิลปะการป้องกันตัว Silat นั้น คนหนึ่งๆ มีการเรียนรู้ที่อยู่ในระดับที่แตกต่างกันตามความสามารถและประสิทธิภาพของแต่ละคน โดยปกติแล้วระดับความสามารถของศิลปะการป้องกันตัว Silat มีอยู่ 5 ระดับ คือ

1.ระดับ Mengetahvi Seni เป็นระดับที่รู้เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว ช่วงลีลา ศิลปะการตอบโต้

2.ระดับBudaya Seni เป็นระดับการเรียนรู้วิถีชีวิตและคำสั่งการ พร้อมการเผยแพร่ศิลปะการป้องกันตัว Silat

3.ระดับ Bangsa Seni เป็นระดับการศึกษาเชิงลึกของศิลปะการป้องกันตัว และภูมิหลังของศิลปะการป้องกันตัว Silat

4.ระดับ Budi Pekerti Seni เป็นระดับการเรียนรู้ เข้าใจกฏระเบียบ และหลักเกณฑ์ของศิลปะการป้องกันตัว Silat

5.ระดับ Jiwa Seni เป็นระดับสร้างจิตสำนึกในศิลปะการป้องกันตัว Silat และศึกษาความเร้นลับของศิลปะการป้องกันตัว Silat

6.ระดับ Alam Seni เป็นระดับการเผยแพร่ศิลปะการป้องกันตัว Silat และสร้างหรือรักษากฏเกณฑ์ของศิลปะการป้องกันตัว Silat ให้อยู่ในจิตวิญญาณของนักศิลปะการป้องกันตัว Silat ทุกคน

ศิลปะการป้องกันตัว Silat มีการเคลื่อนไหว ช่วงลีลาการก้าว ลูกไม้ การหลีก การตอบโต้ การต่อย การถีบ การโจมตี ที่แตกต่างกันตามที่ครูศิลปะการป้องกันตัวต่างๆเป็นผู้คิดลูกไม้ของศิลปะการป้องกันตัว ดังนั้น ศิลปะการป้องกันตัว Silat จึงมีหลากหลายชื่อเช่น

1. Seni Silat Gayong
2. Silat Lincah เป็น 1 ใน 4 ของSilat ที่ใหญ่ที่สุดในมาเลเซีย
3. Silat Cekak เป็น 1 ใน 4 ของ Silat ที่ใหญ่ที่สุดในมาเลเซีย
4. Silat Lintau
5. Silat Kalimah
6. Silat kuntau Melayu
7. Silat Minangkabau
8. Silat Gayung Patani เกิดใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่เติบโตในมาเลเซีย เป็น 1 ใน 4 ของ Silat ที่ใหญ่ที่สุดในมาเลเซีย
9. Silat Sendeng
10. Silat Sunting
11. Silat Abjad
12. Silat Gayang Malaysia เป็น 1 ใน 4 ของ Silat ที่ใหญ่ที่สุดในมาเลเซีย

ไม่มีความคิดเห็น: