วันศุกร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ศิลปะการแสดง ดีเกร์ฮูลู หรือ ดีเกร์บารัต






ลิเกฮูลู
ลิเกฮูลู เป็นการละเล่นพื้นบ้านแถบจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ได้รับความนิยมมากประเภทหนึ่ง คำว่า “ลิเก” หรือ “ดิเกร์” เป็นศัพท์เปอร์เซีย มีความหมาย ๒ ประการ คือ
๑. หมายถึง เพลงสวดสรรเสริญพระเจ้า ปกติการขับร้องเนื่องในเทศกาลวันกำเนิดพระนาบี ชาวมุสลิมเรียกงานเมาลิด เลยเรียกการสวดดังกล่าวนี้ว่า “ดิเกร์เมาลิด”
๒. หมายถึง กลอนเพลงโต้ตอบนิยมเล่นกันเป็นกลุ่มหรือเป็นคณะ เรียกว่า“ลิเกฮูลู”

ส่วนประกอบของคณะดีเกร์ฮูลูนั้น นอกจากประกอบด้วยเครื่องดนตรีต่างๆแล้ว ยังประกอบด้วยโต๊ะยอรอ (Tok Juara), ตูแกกาโร๊ะ (Tukang Karut) และลูกคณะของดีเกร์ฮูลู
วิธีการละเล่น ก่อนการแสดงลิเกฮูลูนั้น จะมีการร้องปันตนอีนัง ก่อน ตัวอย่างบทปันตนอินัง เช่น
กล่าวกันว่า เจ้าเมืองตานีสมัยอดีตมักเรียกคณะปันตนอินังที่มีชื่อเสียงเข้าไปแสดงในวัง โดยเฉพาะเนื่องในพิธีเข้าสุหนัดลูกชาย ต่อมาคณะปันตนอินังก็เปลี่ยนมาแสดงลิเกฮูลู ชาวบ้านมักเรียกการแสดงประเภทนี้แตกต่างกัน เช่น ที่กลันตันเรียก “ลิเกบารัต” หรือ “บาฆะ” (ลิเกตะวันตก) ส่วนจังหวัดชายแดนภาคใต้ เรียก “ลิเกฮูลู” (ลิเกเหนือ) ผู้เล่นลิเกฮูลูหลายท่านกล่าวถึงการฝึกว่า บางคนข้ามฝั่งไปเรียนที่กลันตัน โดยใช้เวลาประมาณ ๑ เดือน สมัยโบราณไม่มีการฝึกหัดผู้หญิงเล่นลิเกฮูลู แต่สมัยนี้ดาราลิเกฮูลูหลายคนเป็นหญิง เช่น คณะเจ๊ะลีเมาะ ซึ่งมีลูกคู่เป็นหญิงล้วน และบางคนเป็นดาราโทรทัศน์อันเป็นยอดนิยมของมาเลเซีย ปัจจุบันลิเกฮูลูเป็นยอดนิยมของชาวมลายูมุสลิม นอกจากจะแสดงในงานมาแกปูโละ งานสุหนัต งานเมาลิด งานฮารีรายอแล้ว แม้แต่สถานีวิทยุในท้องถิ่นก็จัดรายการเสนอลิเกฮูลูและเป็นที่ชื่นชอบของชาวบ้านทั่วไป
ดรเกร์ฮูลูนั้น แม้จะเกิดในจังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่สถานะทางสังคมนั้น กลับตรงกันข้าม เพราะในประเทศไทยดีเกร์ฮูลู มีสถานะเป็นเพียงศิลปะการแสดงท้องถิ่นเท่านั้น ส่วนในประเทศมาเลเซีย และสิงคโปร์ ศิลปะการแสดงนี้ได้กลายเป็นศิลปะการแสดงประจำชาติของเขา ยิ่งในประเทศสิงคโปร์แล้ว มีสหพันธ์ดีเกร์บารัตแห่งสิงคโปร์เป็นตัวหลัก มีการจัดทำเว็บไซต์ ประชาสัมพันธ์ศิลปะการแสดงนี้ จนเป็นที่รู้จักกันทั่วไป

ไม่มีความคิดเห็น: