วันศุกร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ศิลปะการป้องกันตัวซีละ หรือ ซีลัต





ซีละ คือ ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวที่มีลักษณะ การเตะ ถีบ ต่อย ลักษณะการร่ายรำ คือ จะมีผู้เล่นคนหนึ่งลุกขึ้นยืนตรง แล้วร่ายรำอย่างแข็งแรง ว่องไว มีการยกมือและยกเท้าเนิบ ๆ ช้า ๆ ปลายนิ้วของผู้เล่นจะสั่นระริก แล้วก็รำอย่างรวดเร็วสลับกันไป การเริ่มต้นอย่างนี้เรียกว่าไหว้ครู เมื่อจบแล้วอีกฝ่ายก็ลุกขึ้นรำบ้าง อาจจะคล้ายคลึงกัน หรือต่างกันบ้างก็อยู่ที่การฝึก การไหว้ครูจะมีดนตรีประกอบในจังหวะที่ช้า เครื่องดนตรี คือ ปี่ชวา กลองโทน 2 ตัว และฆ้อง เมื่อจบการไหว้ครูแล้ว ดนตรีจะเปลี่ยนจังหวะที่เร็วขึ้น และคู่ต่อสู้ทั้งสองฝ่ายก็จะลุกขึ้นยืนห่างกัน ประมาณ 5 เมตร ต่างฝ่ายต่างร่ายรำสวนทางกัน ประมาณ 1 รอบ พอสวนกันอีกครั้งก็หันเข้าหากันและต่อสู้กัน มีการเตะต่อย ปล้ำกัน การต่อสู้จะดำเนินไป จนกว่าจะฝ่ายใดฝ่านหนึ่งจะพลั้งพลาดท่า กล่าวคือ การล้มหลังถึงพื้นถือว่าแพ้ ผู้ที่ไม่ล้มเลยจะเป็นผู้ชนะ สำหรับคู่หนึ่งจะแข่งขันต่อสู้กันประมาณ 5 นาที ซีละในยุคปัจจุบัน กลายเป็นการละเล่นประจำท้องถิ่น เมื่อมีงานในหมู่บ้านก็ดี การรับแขกบ้านแขกเมืองก็ดี งานแต่งงานหรืองานเข้าสุนัตก็ดี จะมีการเล่นซีละ สำหรับซีละที่ประกอบกริซนั้น ค่อนข้างจะหาดูได้ยาก เพราะเป็นเกมส์ที่อันตราย เสี่ยงชีวิต นอกจากว่าเป็นการแสดงที่ได้ตระเตรียมกันมานาน ซักซ้อมกันมาเป็นอย่างดีจึงจะแสดงให้ชมได้

ศิลปะการป้องกันตัวของชนชาวมลายูคือ Silat โดยศิลปะการป้องกันตัวชนิดนี้มีมาเป็นเวลานานแล้ว แม้แต่ที่ Borobodor ที่อินโดนีเซีย ก็ยังมีการแกะสลักศิลปะการป้องกันตัวของชนชาวมลายูไว้ นั้นแสดงว่า Silat ได้กำเนินขึ้นมาเป็นเวลานับร้อยพันปีมาแล้ว ลักษณะของศิลปะการป้องกันตัวที่เรียกว่า Silat นั้นมีอยู่ 3 ลักษณะ คือ

1. Silat คือการเคลื่อนไหวของร่างกายในการป้องกันตัวจากการโจมตีของศัตรูหรือคู่ต่อสู้

2. Silap คือช่วงจังหวะลีลาที่จะใช้ในศิลปะการป้องกันตัว

3. Silau คือการตอบโต้ที่ใช้จากการป้องกันตัวที่ศัตรูหรือคู่ต่อสู้โจมตีตัวเรา

ดังนั้น ศิลปะการป้องกันตัว Silat สามารถที่จะกล่าวได้ว่าเป็นการเคลื่อนไหว, ช่วงจังหวะและลีลา, การตอบโต้ที่ถูกมนุษย์สร้างขึ้นโดยเป็นระบบ เป็นระเบียบและละเอียดอ่อนในการป้องกันตัวจากการโจมตีของศัตรูและคู่ต่อสู้
ในการเรียนเกี่ยวกับศิลปะการป้องกันตัว Silat นั้น คนหนึ่งๆ มีการเรียนรู้ที่อยู่ในระดับที่แตกต่างกันตามความสามารถและประสิทธิภาพของแต่ละคน โดยปกติแล้วระดับความสามารถของศิลปะการป้องกันตัว Silat มีอยู่ 5 ระดับ คือ

1.ระดับ Mengetahvi Seni เป็นระดับที่รู้เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว ช่วงลีลา ศิลปะการตอบโต้

2.ระดับBudaya Seni เป็นระดับการเรียนรู้วิถีชีวิตและคำสั่งการ พร้อมการเผยแพร่ศิลปะการป้องกันตัว Silat

3.ระดับ Bangsa Seni เป็นระดับการศึกษาเชิงลึกของศิลปะการป้องกันตัว และภูมิหลังของศิลปะการป้องกันตัว Silat

4.ระดับ Budi Pekerti Seni เป็นระดับการเรียนรู้ เข้าใจกฏระเบียบ และหลักเกณฑ์ของศิลปะการป้องกันตัว Silat

5.ระดับ Jiwa Seni เป็นระดับสร้างจิตสำนึกในศิลปะการป้องกันตัว Silat และศึกษาความเร้นลับของศิลปะการป้องกันตัว Silat

6.ระดับ Alam Seni เป็นระดับการเผยแพร่ศิลปะการป้องกันตัว Silat และสร้างหรือรักษากฏเกณฑ์ของศิลปะการป้องกันตัว Silat ให้อยู่ในจิตวิญญาณของนักศิลปะการป้องกันตัว Silat ทุกคน

ศิลปะการป้องกันตัว Silat มีการเคลื่อนไหว ช่วงลีลาการก้าว ลูกไม้ การหลีก การตอบโต้ การต่อย การถีบ การโจมตี ที่แตกต่างกันตามที่ครูศิลปะการป้องกันตัวต่างๆเป็นผู้คิดลูกไม้ของศิลปะการป้องกันตัว ดังนั้น ศิลปะการป้องกันตัว Silat จึงมีหลากหลายชื่อเช่น

1. Seni Silat Gayong
2. Silat Lincah เป็น 1 ใน 4 ของSilat ที่ใหญ่ที่สุดในมาเลเซีย
3. Silat Cekak เป็น 1 ใน 4 ของ Silat ที่ใหญ่ที่สุดในมาเลเซีย
4. Silat Lintau
5. Silat Kalimah
6. Silat kuntau Melayu
7. Silat Minangkabau
8. Silat Gayung Patani เกิดใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่เติบโตในมาเลเซีย เป็น 1 ใน 4 ของ Silat ที่ใหญ่ที่สุดในมาเลเซีย
9. Silat Sendeng
10. Silat Sunting
11. Silat Abjad
12. Silat Gayang Malaysia เป็น 1 ใน 4 ของ Silat ที่ใหญ่ที่สุดในมาเลเซีย

ศิลปะการแสดง ดีเกร์ฮูลู หรือ ดีเกร์บารัต






ลิเกฮูลู
ลิเกฮูลู เป็นการละเล่นพื้นบ้านแถบจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ได้รับความนิยมมากประเภทหนึ่ง คำว่า “ลิเก” หรือ “ดิเกร์” เป็นศัพท์เปอร์เซีย มีความหมาย ๒ ประการ คือ
๑. หมายถึง เพลงสวดสรรเสริญพระเจ้า ปกติการขับร้องเนื่องในเทศกาลวันกำเนิดพระนาบี ชาวมุสลิมเรียกงานเมาลิด เลยเรียกการสวดดังกล่าวนี้ว่า “ดิเกร์เมาลิด”
๒. หมายถึง กลอนเพลงโต้ตอบนิยมเล่นกันเป็นกลุ่มหรือเป็นคณะ เรียกว่า“ลิเกฮูลู”

ส่วนประกอบของคณะดีเกร์ฮูลูนั้น นอกจากประกอบด้วยเครื่องดนตรีต่างๆแล้ว ยังประกอบด้วยโต๊ะยอรอ (Tok Juara), ตูแกกาโร๊ะ (Tukang Karut) และลูกคณะของดีเกร์ฮูลู
วิธีการละเล่น ก่อนการแสดงลิเกฮูลูนั้น จะมีการร้องปันตนอีนัง ก่อน ตัวอย่างบทปันตนอินัง เช่น
กล่าวกันว่า เจ้าเมืองตานีสมัยอดีตมักเรียกคณะปันตนอินังที่มีชื่อเสียงเข้าไปแสดงในวัง โดยเฉพาะเนื่องในพิธีเข้าสุหนัดลูกชาย ต่อมาคณะปันตนอินังก็เปลี่ยนมาแสดงลิเกฮูลู ชาวบ้านมักเรียกการแสดงประเภทนี้แตกต่างกัน เช่น ที่กลันตันเรียก “ลิเกบารัต” หรือ “บาฆะ” (ลิเกตะวันตก) ส่วนจังหวัดชายแดนภาคใต้ เรียก “ลิเกฮูลู” (ลิเกเหนือ) ผู้เล่นลิเกฮูลูหลายท่านกล่าวถึงการฝึกว่า บางคนข้ามฝั่งไปเรียนที่กลันตัน โดยใช้เวลาประมาณ ๑ เดือน สมัยโบราณไม่มีการฝึกหัดผู้หญิงเล่นลิเกฮูลู แต่สมัยนี้ดาราลิเกฮูลูหลายคนเป็นหญิง เช่น คณะเจ๊ะลีเมาะ ซึ่งมีลูกคู่เป็นหญิงล้วน และบางคนเป็นดาราโทรทัศน์อันเป็นยอดนิยมของมาเลเซีย ปัจจุบันลิเกฮูลูเป็นยอดนิยมของชาวมลายูมุสลิม นอกจากจะแสดงในงานมาแกปูโละ งานสุหนัต งานเมาลิด งานฮารีรายอแล้ว แม้แต่สถานีวิทยุในท้องถิ่นก็จัดรายการเสนอลิเกฮูลูและเป็นที่ชื่นชอบของชาวบ้านทั่วไป
ดรเกร์ฮูลูนั้น แม้จะเกิดในจังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่สถานะทางสังคมนั้น กลับตรงกันข้าม เพราะในประเทศไทยดีเกร์ฮูลู มีสถานะเป็นเพียงศิลปะการแสดงท้องถิ่นเท่านั้น ส่วนในประเทศมาเลเซีย และสิงคโปร์ ศิลปะการแสดงนี้ได้กลายเป็นศิลปะการแสดงประจำชาติของเขา ยิ่งในประเทศสิงคโปร์แล้ว มีสหพันธ์ดีเกร์บารัตแห่งสิงคโปร์เป็นตัวหลัก มีการจัดทำเว็บไซต์ ประชาสัมพันธ์ศิลปะการแสดงนี้ จนเป็นที่รู้จักกันทั่วไป






มะโย่ง
มะโย่ง เป็นการแสดงเพื่อเฉลิมฉลองหรือเพื่อความรื่นเริง กำเนิดของมะโย่งมีผู้สันนิษฐานแตกต่างกันไปหลายกระแส ดังนี้
๑. มะโย่งเป็นการแสดงที่เกิดจากในวังของเมืองปัตตานี เป็นครั้งแรก เมื่อประมาณ ๔๐๐ ปี มาแล้ว จากนั้นแพร่หลายไปทางกลันตัน
๓. มะโย่งเป็นการแสดงที่ได้รับอิทธิพลมาจากชวาตั้งแต่ครั้งโบราณ แล้วเป็นที่นิยม แพร่หลายในหมู่ชาวไทยมุสลิมในบริเวณจังหวัดชายแดนภาคใต้ และได้อธิบายเพิ่มเติมโดยกล่าวถึงที่มาของคำว่ามะโย่ง คำว่า มะ หรือเมาะ แปลว่า แม่ ส่วนโย่ง หรือโยง เป็นพระนามของเจ้าหญิงพระองค์หนึ่งแห่งชวา จึงชวนให้สันนิษฐานต่อไปได้ว่า เหตุที่เรียกละครประเภทนี้ว่า มะโย่ง อาจเป็นตัวพระ จึงเรียกกันโดยใช้คำว่า มะ หรือ เมาะนำหน้าเครื่องดนตรี นิยมใช้กันอยู่ ๓ ชนิด คือ รือบะ จำนวน ๑ - ๒ คน กลองแขก ๓ หน้า จำนวน ๒ ใบ และฆ้องใหญ่เสียงทุ้มแหลมอย่างละใบ มะโย่งบางคณะยังมีเครื่องดนตรีอีก ๒ ชิ้น คือ กอเลาะ(กรับ) จำนวน ๑ คู่ และจือแระ จำนวน ๓ - ๔ อัน (จือแระ ทำด้วยไม้ไผ่ยาวประมาณ ๑๖–๑๘ นิ้วใช้ตี) ผู้แสดง มะโย่งคณะหนึ่ง ๆ มีคนประมาณ ๒๐ - ๓๐ คน เป็นลูกคู่เล่นดนตรี ๕ - ๗ คน นอกนั้นเป็นผู้แสดงและเป็นผู้ช่วยผู้แสดงบ้าง
ผู้แสดงหรือตัวละครสำคัญมี ๔ ตัว คือ

๑. ปะโย่ง หรือเปาะโย่ง แสดงเป็นพระเอก มีฐานะเป็นกษัตริย์หรือเจ้านาย ตัวปะโย่งจะใช้ผุ้หญิงร่างแบบบางหน้าตาสะสวย มีเสน่ห์ ขับกล่อมเก่ง น้ำเสียงดี เป็นผู้แสดง

๒.มะโย่งหรือเมาะโย่ง แสดงเป็นนางเอก มีฐานะเป็นเจ้าหญิงหรือสาวชาวบ้านธรรมดาตามแต่เนื้อเรื่องที่แสดง ใช้ผู้หญิงร่างแบบบาง หน้าตาดีเป็นผู้แสดง

๓. ปือรันมูดอ แสดงเป็นตัวตลกตัวที่ ๑ มีฐานะเสนาคนสนิทหรือคนใช้ใกล้ชิดของปะโย่งใช้ผู้ชายหน้าตาท่าทางน่าขบขันชวนหัว เป็นผู้แสดง ปือรันมูดอจะพูดจาตลกคะนอง สองแง่สองมุม ฉลาดทันคน กล้าหาญ แต่บางครั้งโงทึบและขลาดกลัวตาขาว

๔. ปือรันดูวอ แสดงเป็นตัวตลกตัวที่ ๒ มีฐานะเป็นเสนาคนสนิทตัวรองของเปาะโย่ง เป็นเพื่อสนิทของปือรันมูดอ จะเป็นตัวที่คอยสนับสนุนให้ปือรันมูดอสามารถตลกจี้เส้นได้มากขึ้น

โรงหรือเวทีแสดง ปัจจุบันโรงมะโย่งปลูกเป็นเพิงหมาแหงน ยกพื้นสูงประมาณ ๑ เมตร กว้าง ๕-๖ เมตร ยาว ๘ - ๑๐ เมตร จากท้ายโรงประมาณ ๑ - ๒ เมตร จะกั้นฝา ๓ ด้าน คือ ด้านท้ายกับด้านข้างทั้งสอง ด้านหน้าใช้ฉากปิดกั้นให้มีช่องออกหน้าโรงได้ เนื้อที่ด้านท้ายโรงใช้เป็นที่แต่งกายเก็บของและพักผ่อนนอนหลับ ด้านหน้าโรงเป็นโล่งทั้ง ๓ ด้าน จากพื้นถึงหลังคาด้านหน้าสูงประมาณ ๓.๕ เมตร ชายหลังด้านหน้านี้จะมีระบายป้ายชื่อคณะอย่างโรงลิเกหรือโนรา ส่วนใต้ถุนโรงใช้เป็นที่พักหลับนอนไปด้วย
โอกาสที่แสดง มะโย่งจะแสดงในงานเฉลิมฉลองงานเทศกาลหรืองานรื่นเริงอื่น ๆ ตามที่เจ้างานรับไปแสดง ปกติแสดงในเวลากลางคืนโดยเริ่มแสดงราว ๑๙ นาฬิกา เลิกเวลาประมาณ ๑ นาฬิกา

วันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550

การจัดการศึกษาตามอัธยาศัยการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย

จากเว็บไซต์ สำนักบริหารการศึกษานอกโรงเรียน

การจัดการศึกษาตามอัธยาศัยการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย
การศึกษาตามอัธยาศัยเป็นการเสนอโอกาส และทางเลือก เพื่อการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองให้แก่ประชาชนทั่วไป ให้ได้รับการศึกษา และเพิ่มเติมความรู้ให้ทันต่อการ เปลี่ยนแปลงของโลกก่อให้เกิดโลกทัศน์ที่กว้างขวางสามารถ ใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงชีวิตให้ก้าวหน้าและดำรงตน อยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข การศึกษาตามอัธยาศัย เกิดขึ้นตามวิถีชีวิตที่เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ จากการทำงาน จากบุคคล จากครอบครัว จากสื่อ จากชุมชน และจากแหล่งความรู้ ซึ่งสามารถเรียน ได้ตลอดเวลา และเกิดขึ้นในทุกช่วงวัยตลอดชีวิตห้องสมุดประชาชน
ห้องสมุดประชาชนเป็นแหล่งความรู้ของชุมชนที่ให้บริการการศึกษาตามอัธยาศัยแก่ประชาชนในพื้นที่ระดับตำบล อำเภอ และจังหวัด ในรูปของสิ่งพิมพ์ สื่อทดลอง สื่อโสตทัศนศึกษา สื่ออิเล็คโทรนิกส์ สื่อทดลอง สื่อสาธิต และสื่ออื่น ๆ
ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี”
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเล็งเห็นความสำคัญของห้องสมุดประชาชนในอันที่จะตอบ สนองความต้องการด้านการอ่านการศึกษาของประชาชน ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาประเทศชาติให้มีความเจริญ ก้าวหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากทัศนะที่พระองค์ทรงมีต่อห้องสมุดในหนังสือเฉลิมพระเกียรติ และบทพระราชนิพนธ์เรื่อง “ห้องสมุดในทัศนะของข้าพเจ้า” ตอนหนึ่งที่ขออัญเชิญมาว่า “ข้าพเจ้าอยากให้เรามี่ห้อง สมุดที่ดีมีหนังสือครบทุกประเภทสำหรับประชาชน…” เพื่อสนองพระราชปณิธานและร่วมเฉลิมพระเกียรติในวโรกาส พระชนมพรรษาครบ 3 รอบ ในปี พ.ศ.2534 กระทรวงศึกษาธิการจึงได้พิจารณาขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรีดำเนิน การโครงการการจัดตั้งห้องสมุดประชาชนตามแนวพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อันได้รับพระราชทานนามว่าห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี”
ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน
เป็นศูนย์กลางรวบรวมข้อมูลข่าวสารสำหรับหมู่บ้าน ซึ่งชาวบ้านในท้องถิ่นเป็นผู้จัดสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นสถานที่พัก ผ่อนอ่านหนังสือในยามว่าง ช่วยสร้างนิสัยรักการอ่าน และป้องกันการลืมหนังสือ ได้ใช้ประโยชน์จากการอ่านเพื่อนำ ไปพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยมีคณะกรรมการที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้านทำหน้าที่ดูแลรักษาและพัฒนาสถานที่อ่าน พิจารณาคัดเลือกหนังสือพิมพ์ รับและเก็บรักษาหนังสือพิมพ์ ซึ่งภาครัฐบาลโดยกรมการศึกษานอกโรงเรียนจัดงบ ประมาณสนับสนุนเป็นค่าหนังสือพิมพ์รายวันแห่งละ 2 ฉบับ
เรือห้องสมุดศูนย์การเรียนเคลื่อนที่
เรือห้องสมุดศูนย์การเรียนเคลื่อนที่ เป็นแหล่งความรู้อีกมิติหนึ่งที่สามารถรุกเข้าถึงตัวผู้ใช้บริการได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งสามารถให้บริการกับนักเรียน นักศึกษา เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และประชาชนทั่วไปที่อาศัย อยู่ริมน้ำ โดยนำสื่อต่าง ๆไว้บริการกับกลุ่มเป้าหมาย เช่น หนังสือคอมพิวเตอร์ ของเล่นเด็ก นิทรรศการ
ศูนย์รับบริจาคหนังสือ
เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่บริการรับบริจาคหนังสือ เอกสาร และสิ่งพิมพ์ที่มีคุณค่าจากประชาชนที่มีจิตศรัทธา เพื่อจัด ส่งไปให้แหล่งข่าวสารข้อมูลต่าง ๆ ในชนบทที่ขาดแคลนหนังสืออ่าน เช่น ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน ศูนย์การเรียนชุมชน และโรงเรียนในชนบทห่างไกล
วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา
เป็นการจัการศึกษาตามอัธยาศัยในรูปแบบของวิทยาศาสตร์เพื่อเป็นการพัฒนาคนให้มีความรู้ ความเข้าใจในสิ่ง ที่เปลี่ยนแปลงทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงได้จัดแหล่งความรู้ที่สำคัญยิ่งในการจัดการศึกษาทางด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กับประชาชนทั้งในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียน โดยมีศูนย์วิทยาศาสตร์ เพื่อการศึกษาเอกมัย, รังสิต และศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาจังหวัด 12 แห่ง คือ จังหวัดตรัง ยะลา นครศรีธรรมราช กาญจนบุรี พระนครศรีอยุธยา สมุทรสาครลำปาง นครสวรรค์ สระแก้ว นครราชสีมา ขอนแก่น และอุบลราชธานี เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดกิจกรรมดังกล่าว เช่น การจัดค่ายวิทยาศาสตร์ การจัดนิทรรศการ การฝึกอบรม การสอนวิทยาศาสตร์ ท้องฟ้าจำลอง การให้บริการสื่อประสม นิทรรศการเคลื่อนที่ รวมไปถึงวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต ซึ่งเป็นการนำเสนอเนื้อหาสาระที่สอดคล้องและเหมาะสมกับการดำรงชีวิต ในชุมชนต่อไป
การจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
เป็นการนำเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมที่ทันสมัยมาใช้ให้เกิดประโยชน์ทางการศึกษา โดยใช้สื่อที่เป็น รายการโทรทัศน์เสริมให้เกิดการเรียนรู้ ร่วมใช้กับสื่ออื่น ๆ เช่น สื่อพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง เพื่อให้ประชาชน ทุกกลุ่มเป้าหมายได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงในคุณภาพและมาตรฐานเดียวกัน โดยกรมการศึกษานอกโรงเรียน เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินโครงการดังกล่าว ได้นำออกอากาศทางรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา สถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ (ETV) สถานศึกษาและประชาชนที่มี อุปกรณ์รับสัญญาณดาวเทียมย่านความถี่ Ku Band ในระบบดิจิตอลสามารถเปิดรับชมรายการโทรทัศน์เพื่อการ ศึกษาดังกล่าวได้ที่ช่อง 17
วิทยุเพื่อการศึกษา
เป็นบริการทางการศึกษาอีกรูปแบบหนึ่งทางรายการวิทยุที่กรมการศึกษานอกโรงเรียนจัดให้แก่ประชาชนทั่วไป เพื่อให้ได้รับข่าวสารข้อมูลที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์ รวมถึง ให้ความรู้ต่าง ๆ ที่จะนำไปใช้พัฒนาคุณภาพชีวิต โดยศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษาทำหน้าที่ผลิตรายการให้แก่กลุ่มเป้าหมาย ครอบคลุมเนื้อหาความรู้ทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา สุขภาพอนามัย ครอบครัว อาชีพ กฎหมาย ดนตรีไทย ดนตรีสากล ธรรมะ การสรุปข่าว โดยจัดออกอากาศทางสถานีวิทยุศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ในระบบ FM ความถี่ 92 Mhz และระบบ AM ความถี่ 1161 Khz
ศูนย์การเรียนชุมชน
เป็นศูนย์กลางการจัดการศกึษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับประชาชนในชุมชน เป็นสถานที่เสริมสร้างโอกาส ในการเรียนรู้ การถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ วิทยาการ ตลอดจนภูมิปัญญาของชุมชน อีกทั้งยังเป็น แหล่งบริการชุมชน ในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน โดยเน้นกระบวนการเรียนรู้ ในวิถีชีวิตให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของสังคมในยุคโลกาภิวัตน์ และก่อให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ การเสริมสร้างวิถีประชาธิปไตย และมุ่งการพัฒนาแบบพึ่งตนเอง โดยมีองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เป็นผู้ส่งเสริมและกำกับดูแลการดำเนินงานของศูนย์การเรียนชุมชน
การศึกษานอกโรงเรียนสำหรับผู้ด้อยโอกาส
การพัฒนาประเทศที่จะนำไปสู่ความเจริญและมั่นคง จะต้องเน้นการพัฒนาประชากรให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยผู้ ด้อยโอกาสอันได้แก่ เด็กที่อยู่ในภาวะยากลำบาก เช่น เด็กเร่ร่อน แรงงานเด็ก สตรีกลุ่มเสี่ยง คนพิการ ผู้สูงอายุที่ไม่มีผู้ดูแล กลุ่มผู้ถูกคุมประพฤติ หรือผู้ต้องขังกลุ่มคนไทยต่างวัฒนธรรม (ฃาวเขา ชาวเล) ถือได้ว่าเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า กรมการศึกษานอกโรงเรียนให้ความสำคัญ โดยจัดการ ศึกษานอกโรงเรียนในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อมุ่งเน้นให้เกิดความเสมอภาคทางการศึกษา ให้มีความสอดคล้องกับสภาพ วิถีชีวิตของกลุ่มเป้าหมาย และมุ่งพัฒนาผู้ด้อยโอกาสเหล่านั้น ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม และทักษะฝีมือ เพื่อให้เป็นคนดี มีทักษะในการดำรงชีวิตมีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์ พึ่งตนเองได้และมีส่วนร่วม ในการพัฒนาสังคมได้ตามศักยภาพ

การจัดการศึกษานอกโรงเรียนสายอาชีพ

จาก เว็บไซต์ สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน

การจัดการศึกษานอกโรงเรียนสายอาชีพ
การจัดการศึกษานอกโรงเรียนสายอาชีพเป็นการศึกษาที่มุ่งให้ผู้เรียนมีอาชีพ หรือเห็นช่องทางการทำมาหากิน คิดเป็น แก้ปัญหาเป็น มีความรู้ ทักษะ และเจตคติ ที่ดีในการทำงานเพื่อการประกอบอาชีพอิสระ อาชีพในตลาดแรงงาน หรือ เพื่อปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของตนเองและชุมชน รวมทั้งเพื่อเพิ่มวุฒิทางการ ศึกษาและการพัฒนาตนเองเกี่ยวกับหน้าที่การงาน โดยมีการจัดกิจกรรม การเรียนการสอนดังนี้ 1. หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น 2 กลุ่มสนใจวิชาชีพ 3. หลักสูตรประกาศนียบัตรอาชีพ พุทธศักราช 2533 (ปอ.) 4. หลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2539 (กศน.ปวช.)
หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น
หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นที่กรมการศึกษานอกโรงเรียนจัดให้บริการแก่ประชาชน เป็นหลักสูตรที่ใช้เวลาเรียนสั้น ๆ ตามลักษณะของเนื้อหาที่สามารถจบในตัวเอง มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาอาชีพ ประกอบอาชีพอิสระ และพัฒนาทักษะฝีมือ แรงงานเพื่อเข้าสู่ ตลาดแรงงาน เช่น การเพาะเห็ด ตัดผม แปรรูปผลผลิตการเกษตร ช่างไฟฟ้า ช่างเชื่อมโลหะ ช่างซ่อมจักรยาน วิทยุ โทรทัศน์ เป็นต้น
กลุ่มสนใจวิชาชีพ
เป็นการจัดการศึกษาอาชีพให้แก่ประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ที่สามารถจัดได้รวดเร็วเพื่อให้สามารถสนองความต้องการ และความสนใจ ของผู้เรียนได้ในทันที โดยมีการรวมกลุ่มผู้ที่สนใจในอาชีพเดียวกันมาเรียน กลุ่มหนึ่ง ๆ มีผู้เรียน 15 คนขึ้นไป มีระยะเวลาการเรียนไม่เกิน 30 ชั่วโมง โดยมีวิทยากรผู้มีความรู้ ความชำนาญ ในเรื่องนั้น ๆ เป็นผู้สอน (สมาชิกกลุ่มรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับวัสดุฝึก)
หลักสูตรประกาศนียบัตรอาชีพ พุทธศักราช 2533 (ปอ.)
หลักสูตรประกาศนียบัตรอาชีพ (ปอ.) เป็นหลักสูตรที่จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ขาดโอกาสทางการศึกษา สำหรับผู้จบระดับประถม ศึกษา (ป.6) แล้ว ให้มีโอกาสศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเข้าสู่อาชีพ มีรายได้เกิดขึ้นระหว่าง เรียน หรือเรียนจากประสบการณ์ในอาชีพที่ประกอบอยู่ โดยผ่านกระบวนการทางการศึกษาจนได้ประกาศนียบัตรเทียบเท่า ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในระบบโรงเรียน
หลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2539 (กศน.ปวช.)
เป็นหลักสูตร 3 ปี สำหรับผู้เรียนที่จบมัธยมศึกษาตอนต้น และกำลังทำงานในสถานประกอบการ เพื่อมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถ และมีทักษะวิชาชีพเฉพาะด้าน ตลอดจนมีคุณธรรม จริยธรรม และเจตคติทีดีต่อการประกอบอาชีพ ให้สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการทั้งภาครัฐและเอกชน นอกจากนี้ยังเป็นการยกระดับการศึกษาของผู้เรียนให้สูงขึ้น โดยไม่ต้องเสียเวลาทำงาน ผู้ที่เรียนจบหลักสูตรนี้จะได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) เทียบเท่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในระบบโรงเรียน สาขาวิชาที่เปิดสอนมี 17 สาขาวิชา คือ - คอมพิวเตอร์ธุรกิจ - การจัดการ - การโรงแรมและการท่องเที่ยว - ภาษาอังกฤษธุรกิจ - ธุรกิจและบริการอุตสาหกรรม - การดูแลเด็กและผู้สูงอายุ - ธุรกิจอาหาร - ผ้าและเครื่องแต่งกาย - ช่างยนต์ - ช่างอุตสาหกรรมเซรามิก - ช่างอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม - ช่างเชื่อมอุตสาหกรรม - ช่างกลโรงงาน - ช่างควบคุมงานก่อสร้าง - ช่างเขียนแบบก่อสร้าง - อิเล็กทรอนิกส์ - สาขาวิชาเกษตรศาสตร์

วันเสาร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2550

วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร สร้างคน สร้างงานรับเศรษฐกิจ “อินโดจีน”

จากหนังสือพิมพ์ สยามรัฐ ฉบับที่ 19754 ประจำวันที่ 28 พฤษภาคม 2550

“...จากสถิติของสำนักงานสถิติแห่งชาติ เผยข้อมูลระดับการศึกษาของประชากรไทยช่วงเดือนกันยายน 2549 พบว่า ประชากรไทย ประมาณ 65 ล้านคน มีพื้นฐานความรู้ระดับอุดมศึกษา เพียง 5,800,000 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 11.6 และเมื่อพิจารณาดูระดับการศึกษาของชาวมุกดาหาร ซึ่งมีประมาณ 375,000 คนนั้น พบว่ามีผู้สำเร็จระดับอุดมศึกษา เพียงร้อยละ 8.4 เท่านั้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า ยังมีคนอีกจำนวนมากที่เข้าไม่ถึงการศึกษาขั้นสูง ฉะนั้นจึงเป็นปัญหาใหญ่ที่เรามิอาจมองข้าม...” นั่นคือหนึ่งในเหตุผลสำคัญ ของการจัดตั้งวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร (17 เมษายน 2547) ซึ่งเป็น 1 ใน 18 วิทยาลัยชุมชนทั่วประเทศ ภายใต้การดูแลของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) แหล่งเรียนรู้ในระดับต่ำกว่าปริญญาตรี เพื่อรองรับและเติมเต็มช่องว่างทางการศึกษา ด้วยหลักบริหารงานง่ายๆ คือ เปิดกว้างและเข้าถึง มีหลักสูตรหลากหลาย ตอบสนองต่อชุมชนในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม เน้นคุณภาพและการใช้ประโยชน์ ที่สำคัญคือเสียค่าใช้จ่ายน้อย ...จากการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของ วชช.มุกดาหาาร ของนายวรากรณ์ สามโกเศศ รมช.ศึกษาธิการ พร้อมคณะเมื่อเร็วๆ นี้ ทำให้รู้แจ้งว่า วิทยาลัยชุมชนฯแห่งนี้ เป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกและแห่งเดียวของจังหวัด การเรียนการสอนนั้นเปิดกว้างทั้งวิชาการและวิชาชีพ เน้นให้สอดคล้องตามความต้องการของชุมชนเป็นหลัก มีทั้งหลักสูตรอนุปริญญา หลักสูตรระยะสั้น และหลักสูตรปรับพื้นฐานความรู้ โดยจัดการศึกษาทั้งในและนอกระบบ ซึ่งถือเป็นการเปิดโอกาสให้คนในท้องถิ่น ที่พลาดโอกาสทางการศึกษาอย่างแท้จริง นายวิรุฬห์ ศุภกุล ประธานสภาวิทยาลัยชุมชนฯ พูดอย่างตรงไปตรงมาว่า “ในช่วงเริ่มก่อตั้ง สกอ.มีส่วนช่วยพัฒนาหลักสูตรระดับอนุปริญญา ขึ้นมาเพื่อรองรับได้แก่การปกครองท้องถิ่น คอมพิวเตอร์ธุรกิจ การจัดการทั่วไป การศึกษาปฐมวัย การบัญชีและการพัฒนาชุมชน แต่เนื่องจากวันเวลาผ่านไปความจำเป็นของคนที่จะเรียนใน สาขาวิชาเหล่านี้เริ่มลดน้อยลง จึงส่งผลให้ต้องมีการปิดบางหลักสูตรลงไป เช่น หลักสูตรการพัฒนาชุมชน ซึ่งในปีการศึกษา 2550 ไม่มีนักศึกษาคนใดสมัครลงในสาขานี้เลย” ซึ่งนั้นเป็นสาเหตุที่ทำให้ วชช.มุกดาหาร จำต้องปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรใหม่อยู่อย่างต่อเนื่อง โดยในปีการศึกษา 2550 ได้มีการพัฒนาหลักสูตรธุรกิจระหว่างประเทศในกลุ่มอินโดจีน (การค้าชายแดน) ระดับอนุปริญญาขึ้น โดยความร่วมมือของหอการค้าจังหวัดมุกดาหาร มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และผู้บริหารของแขวงสะหวันนะเขต ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เพื่อพัฒนาบุคลากรในการจัดการธุรกิจ ให้เข้าสู่กิจกรรมทางเศรษฐกิจตามเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก ในบริบทไทย-ลาว-เวียดนาม “ขณะนี้จัดทำหลักสูตรเสร็จแล้ว และอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการวิทยาลัยชุมชน (ระดับชาติ) แต่ในเบื้องต้นนี้ ทาง วชช.มุกดาหาร ได้จัดการเรียนการสอนเนื้อหาบางส่วนของหลักสูตร ในรูปแบบของหลักสูตรระยะสั้นให้แก่นักศึกษาที่สนใจไปบ้างแล้ว เพราะหลักสูตรระยะสั้นนี้สามารถเปิดสอนได้ทันที หลังได้รับการอนุมัติจากสภา วชช.มุกดาหาร” ผู้บริหารวิทยาลัยชุมชน กล่าวและว่า สำหรับผู้ที่เรียนจบหลักสูตรระยะสั้น สามารถนำความรู้มาเทียบโอนหน่วยกิตระดับอนุปริญญา ในสาขาธุรกิจระหว่างประเทศในกลุ่มอินโดจีน (การค้าชายแดน) ได้ และที่สำคัญคือหลักสูตรนี้ ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากบริษัทไทย ที่ไปลงทุนในลาว และเวียดนาม พร้อมจะรับนักศึกษาที่จบหลักสูตรนี้เข้าทำงาน ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการในประเทศลาว ก็สนใจจะส่งบุคลากรเข้ามาเรียนด้วย ...ช่วยพัฒนารากแก้วรับเศรษฐกิจโต ขณะที่นายบุญสม พิรินทร์ยวง ผู้ว่าราชการ จ.มุกดาหาร กล่าวเสริมว่า วชช.มุกดาหาร มีบทบาทสำคัญมากในการพัฒนาและเสริมทักษะให้กับผู้ประกอบการ เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจด้านการบริการของจังหวัด หลังจากที่เปิดสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 2 อย่างเป็นทางการ เพราะขณะนี้นักท่องเที่ยว เริ่มมีมากขึ้นจากเดิมเดือนละไม่เกิน 3,000 คน แต่ปัจจุบันเพิ่มเป็น 12,000 คน “การเปิดหลักสูตรการค้าชายแดนจะช่วยเสริมได้มาก ในการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธุรกิจระหว่างประเทศในกลุ่มอินโดจีน ซึ่งจะมีเรื่องของการนำเข้าและส่งออกด้วย เพราะหลังจากที่ได้มีการเปิดสะพานฯ แล้ว การส่งออกก็เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 28 โดยเฉพาะเครื่องอุปโภคบริโภค ที่ประเทศอินโดจีนพึ่งพาอาศัยเราเป็นจำนวนมาก ฉะนั้น วชช.มุกดาหาร จึงเป็นส่วนสำคัญที่จะมาต่อยอดจากพื้นฐานความรู้ที่ประชาชนมีอยู่แล้วให้มีมากขึ้นต่อไป เพื่อให้สมกับคำว่า “วิทยาลัยชุมชน พัฒนาคน พัฒนาท้องถิ่น” นอกจากหลักสูตรที่เชื่อมเศรษฐกิจอินโดจีน แล้วทาง วชช.มุกดาหาร ยังร่วมมือกับ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พัฒนาหลักสูตรแปรรูปผลิตภัณฑ์ เพื่อช่วยสร้างความแตกต่างในการทำผลิตภัณฑ์ให้กับประชาชน ที่ทำการทอผ้า ซึ่งในอนาคตจะเป็นประโยชน์มากในการนำไปสู่การสร้างงานในการผลิต รวมถึงการพัฒนาหลักสูตรธุรกิจการเกษตร โดยความร่วมมือจากคณะเกษตร มหาวิทาลัยอุบลราชธานี ซึ่งเป็นหลักสูตรระยะสั้น 100 ชั่วโมง และได้นำหลักสูตรดังกล่าวเข้ามาทดลองใช้กับประชาชนในพื้นที่หมู่บ้านสันติสุข 2 ของศูนย์พัฒนาสังคมที่ 42 ซึ่งคนในชุมชนต่างให้การตอบรับเป็นอย่างดี โดยในอนาคตอันใกล้นี้ จะมีโครงการพัฒนาศูนย์แห่งนี้เป็นแหล่งปลูกผักปลอดสารพิษ อีกด้วย ทั้งนี้ เมื่อประเมินถึงศักยภาพในการสร้างคน สร้างงานของ วชช.มุกดาหาร แล้วจะพบว่า สามารถผลิตบัณฑิตระดับอนุปริญญาไปแล้ว 972 คน หลักสูตรระยะสั้นมากกว่า 2,400 คน และพบว่าเมื่อจบหลักสูตรระดับอนุปริญญาแล้ว ร้อยละ 60 ศึกษาต่อระดับปริญญาตรี ส่วนเรื่องการมีงานทำ พบว่าร้อยละ 87 นำความรู้ที่ได้รับกลับไปพัฒนาอาชีพเดิมของตนเอง และร้อยละ 13 ทำงานใหม่ ส่วนของหลักสูตรระยะสั้นนั้นพบว่า สามารถช่วยแก้ไขปัญหาความยากจน และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ดียิ่งขึ้น และที่ต้องจับตามองคือนักเรียนสายสามัญ ที่เริ่มมองเห็นอนาคตจากวิทยาลัยชุมชนเรียนในชุมชน มีอาชีพและมีงานทำทุกคน...เพื่อชุมชนเข้มแข็ง

แล้วสถาบันการศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่คิดจะเปิดหลักสูตรการทำธุรกิจระหว่างประเทศบ้างหรือ สามจังหวัดชายแดนภาคใต้เองก็ติดกับประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ น่าจะเป็นโอกาสของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ในการเป็น"ประตูสู่"กลุ่มประเทศภูมิภาคมลายู