วันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550

การจัดการศึกษาตามอัธยาศัยการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย

จากเว็บไซต์ สำนักบริหารการศึกษานอกโรงเรียน

การจัดการศึกษาตามอัธยาศัยการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย
การศึกษาตามอัธยาศัยเป็นการเสนอโอกาส และทางเลือก เพื่อการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองให้แก่ประชาชนทั่วไป ให้ได้รับการศึกษา และเพิ่มเติมความรู้ให้ทันต่อการ เปลี่ยนแปลงของโลกก่อให้เกิดโลกทัศน์ที่กว้างขวางสามารถ ใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงชีวิตให้ก้าวหน้าและดำรงตน อยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข การศึกษาตามอัธยาศัย เกิดขึ้นตามวิถีชีวิตที่เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ จากการทำงาน จากบุคคล จากครอบครัว จากสื่อ จากชุมชน และจากแหล่งความรู้ ซึ่งสามารถเรียน ได้ตลอดเวลา และเกิดขึ้นในทุกช่วงวัยตลอดชีวิตห้องสมุดประชาชน
ห้องสมุดประชาชนเป็นแหล่งความรู้ของชุมชนที่ให้บริการการศึกษาตามอัธยาศัยแก่ประชาชนในพื้นที่ระดับตำบล อำเภอ และจังหวัด ในรูปของสิ่งพิมพ์ สื่อทดลอง สื่อโสตทัศนศึกษา สื่ออิเล็คโทรนิกส์ สื่อทดลอง สื่อสาธิต และสื่ออื่น ๆ
ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี”
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเล็งเห็นความสำคัญของห้องสมุดประชาชนในอันที่จะตอบ สนองความต้องการด้านการอ่านการศึกษาของประชาชน ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาประเทศชาติให้มีความเจริญ ก้าวหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากทัศนะที่พระองค์ทรงมีต่อห้องสมุดในหนังสือเฉลิมพระเกียรติ และบทพระราชนิพนธ์เรื่อง “ห้องสมุดในทัศนะของข้าพเจ้า” ตอนหนึ่งที่ขออัญเชิญมาว่า “ข้าพเจ้าอยากให้เรามี่ห้อง สมุดที่ดีมีหนังสือครบทุกประเภทสำหรับประชาชน…” เพื่อสนองพระราชปณิธานและร่วมเฉลิมพระเกียรติในวโรกาส พระชนมพรรษาครบ 3 รอบ ในปี พ.ศ.2534 กระทรวงศึกษาธิการจึงได้พิจารณาขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรีดำเนิน การโครงการการจัดตั้งห้องสมุดประชาชนตามแนวพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อันได้รับพระราชทานนามว่าห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี”
ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน
เป็นศูนย์กลางรวบรวมข้อมูลข่าวสารสำหรับหมู่บ้าน ซึ่งชาวบ้านในท้องถิ่นเป็นผู้จัดสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นสถานที่พัก ผ่อนอ่านหนังสือในยามว่าง ช่วยสร้างนิสัยรักการอ่าน และป้องกันการลืมหนังสือ ได้ใช้ประโยชน์จากการอ่านเพื่อนำ ไปพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยมีคณะกรรมการที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้านทำหน้าที่ดูแลรักษาและพัฒนาสถานที่อ่าน พิจารณาคัดเลือกหนังสือพิมพ์ รับและเก็บรักษาหนังสือพิมพ์ ซึ่งภาครัฐบาลโดยกรมการศึกษานอกโรงเรียนจัดงบ ประมาณสนับสนุนเป็นค่าหนังสือพิมพ์รายวันแห่งละ 2 ฉบับ
เรือห้องสมุดศูนย์การเรียนเคลื่อนที่
เรือห้องสมุดศูนย์การเรียนเคลื่อนที่ เป็นแหล่งความรู้อีกมิติหนึ่งที่สามารถรุกเข้าถึงตัวผู้ใช้บริการได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งสามารถให้บริการกับนักเรียน นักศึกษา เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และประชาชนทั่วไปที่อาศัย อยู่ริมน้ำ โดยนำสื่อต่าง ๆไว้บริการกับกลุ่มเป้าหมาย เช่น หนังสือคอมพิวเตอร์ ของเล่นเด็ก นิทรรศการ
ศูนย์รับบริจาคหนังสือ
เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่บริการรับบริจาคหนังสือ เอกสาร และสิ่งพิมพ์ที่มีคุณค่าจากประชาชนที่มีจิตศรัทธา เพื่อจัด ส่งไปให้แหล่งข่าวสารข้อมูลต่าง ๆ ในชนบทที่ขาดแคลนหนังสืออ่าน เช่น ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน ศูนย์การเรียนชุมชน และโรงเรียนในชนบทห่างไกล
วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา
เป็นการจัการศึกษาตามอัธยาศัยในรูปแบบของวิทยาศาสตร์เพื่อเป็นการพัฒนาคนให้มีความรู้ ความเข้าใจในสิ่ง ที่เปลี่ยนแปลงทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงได้จัดแหล่งความรู้ที่สำคัญยิ่งในการจัดการศึกษาทางด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กับประชาชนทั้งในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียน โดยมีศูนย์วิทยาศาสตร์ เพื่อการศึกษาเอกมัย, รังสิต และศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาจังหวัด 12 แห่ง คือ จังหวัดตรัง ยะลา นครศรีธรรมราช กาญจนบุรี พระนครศรีอยุธยา สมุทรสาครลำปาง นครสวรรค์ สระแก้ว นครราชสีมา ขอนแก่น และอุบลราชธานี เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดกิจกรรมดังกล่าว เช่น การจัดค่ายวิทยาศาสตร์ การจัดนิทรรศการ การฝึกอบรม การสอนวิทยาศาสตร์ ท้องฟ้าจำลอง การให้บริการสื่อประสม นิทรรศการเคลื่อนที่ รวมไปถึงวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต ซึ่งเป็นการนำเสนอเนื้อหาสาระที่สอดคล้องและเหมาะสมกับการดำรงชีวิต ในชุมชนต่อไป
การจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
เป็นการนำเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมที่ทันสมัยมาใช้ให้เกิดประโยชน์ทางการศึกษา โดยใช้สื่อที่เป็น รายการโทรทัศน์เสริมให้เกิดการเรียนรู้ ร่วมใช้กับสื่ออื่น ๆ เช่น สื่อพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง เพื่อให้ประชาชน ทุกกลุ่มเป้าหมายได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงในคุณภาพและมาตรฐานเดียวกัน โดยกรมการศึกษานอกโรงเรียน เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินโครงการดังกล่าว ได้นำออกอากาศทางรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา สถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ (ETV) สถานศึกษาและประชาชนที่มี อุปกรณ์รับสัญญาณดาวเทียมย่านความถี่ Ku Band ในระบบดิจิตอลสามารถเปิดรับชมรายการโทรทัศน์เพื่อการ ศึกษาดังกล่าวได้ที่ช่อง 17
วิทยุเพื่อการศึกษา
เป็นบริการทางการศึกษาอีกรูปแบบหนึ่งทางรายการวิทยุที่กรมการศึกษานอกโรงเรียนจัดให้แก่ประชาชนทั่วไป เพื่อให้ได้รับข่าวสารข้อมูลที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์ รวมถึง ให้ความรู้ต่าง ๆ ที่จะนำไปใช้พัฒนาคุณภาพชีวิต โดยศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษาทำหน้าที่ผลิตรายการให้แก่กลุ่มเป้าหมาย ครอบคลุมเนื้อหาความรู้ทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา สุขภาพอนามัย ครอบครัว อาชีพ กฎหมาย ดนตรีไทย ดนตรีสากล ธรรมะ การสรุปข่าว โดยจัดออกอากาศทางสถานีวิทยุศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ในระบบ FM ความถี่ 92 Mhz และระบบ AM ความถี่ 1161 Khz
ศูนย์การเรียนชุมชน
เป็นศูนย์กลางการจัดการศกึษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับประชาชนในชุมชน เป็นสถานที่เสริมสร้างโอกาส ในการเรียนรู้ การถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ วิทยาการ ตลอดจนภูมิปัญญาของชุมชน อีกทั้งยังเป็น แหล่งบริการชุมชน ในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน โดยเน้นกระบวนการเรียนรู้ ในวิถีชีวิตให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของสังคมในยุคโลกาภิวัตน์ และก่อให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ การเสริมสร้างวิถีประชาธิปไตย และมุ่งการพัฒนาแบบพึ่งตนเอง โดยมีองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เป็นผู้ส่งเสริมและกำกับดูแลการดำเนินงานของศูนย์การเรียนชุมชน
การศึกษานอกโรงเรียนสำหรับผู้ด้อยโอกาส
การพัฒนาประเทศที่จะนำไปสู่ความเจริญและมั่นคง จะต้องเน้นการพัฒนาประชากรให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยผู้ ด้อยโอกาสอันได้แก่ เด็กที่อยู่ในภาวะยากลำบาก เช่น เด็กเร่ร่อน แรงงานเด็ก สตรีกลุ่มเสี่ยง คนพิการ ผู้สูงอายุที่ไม่มีผู้ดูแล กลุ่มผู้ถูกคุมประพฤติ หรือผู้ต้องขังกลุ่มคนไทยต่างวัฒนธรรม (ฃาวเขา ชาวเล) ถือได้ว่าเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า กรมการศึกษานอกโรงเรียนให้ความสำคัญ โดยจัดการ ศึกษานอกโรงเรียนในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อมุ่งเน้นให้เกิดความเสมอภาคทางการศึกษา ให้มีความสอดคล้องกับสภาพ วิถีชีวิตของกลุ่มเป้าหมาย และมุ่งพัฒนาผู้ด้อยโอกาสเหล่านั้น ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม และทักษะฝีมือ เพื่อให้เป็นคนดี มีทักษะในการดำรงชีวิตมีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์ พึ่งตนเองได้และมีส่วนร่วม ในการพัฒนาสังคมได้ตามศักยภาพ

ไม่มีความคิดเห็น: